การป้องกันโรคในโค กระบือ แพะ แกะ

การป้องกันโรคในช่วงหน้าร้อนสำหรับโค กระบือ แพะ แกะ โดยทั่วไปไม่มีโรคที่เกิดเฉพาะในช่วงหน้าร้อน การป้องกันโรคสัตว์จำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำหนดตามแต่ละช่วงอายุของสัตว์ ตามโปรแกรมการถ่ายพยาธิ และฉีดวัคซีน แต่ในช่วงหน้าร้อนเป็นช่วงที่สัตว์อาจเกิดความเครียดได้ง่าย ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเกิดและแสดงอาการของโรค ดังนั้นควรแนะนำให้เกษตรกรสังเกต และดูแลสัตว์อย่างใกล้ชิด นอกเหนือจากการทำโปรแกรมการฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิ


การถ่ายพยาธิ
ยาถ่ายพยาธิภายทางเดินอาหาร สำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง

ชนิดของพยาธิ

สารออกฤทธิ์ / ชื่อการค้า

วิธีใช้

ขนาดที่ใช้

หมายเหตุ

พยาธิไส้เดือน

Fenbendazole

กรอกปาก

7.5 mg/kg

 

พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร

Thiabendazole

กรอกปาก

50 mg/kg

 
 

Oxibendazole

กรอกปาก

0.15 mg/kg

 
 

Albendazole

กรอกปาก

โค กระบือ : 7.5 – 15 mg/kg,

 
     

แพะ แกะ : 3.8 – 5 mg/kg

 
 

Mebendazole

กรอกปาก

15 mg/kg

 
 

Levamisole

กรอกปาก

8 mg/kg

 
 

Ivermectin

ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

0.2 mg/kg

 
 

Fenbendazole

กรอกปาก

5 – 7.5 mg/kg

 

พยาธิใบไม้

Albendazole

กรอกปาก

โค กระบือ : 5 – 7.5 mg/kg.

 
     

แพะ แกะ : 4.75 – 7.5 mg/kg

 
 

Nitroxynil

ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

10 mg/kg

 
 

Triclabendazole

กรอกปาก

โค กระบือ : 12 mg/kg,

 
     

แพะ แกะ 100 mg/kg

 
 

Oxyclozanide

กรอกปาก

โค กระบือ : 10 mg/kg

 
     

แพะ แกะ 15 mg/kg

 
 

Closantel

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

3 mg/kg

เฉพาะแพะ แกะ

 

Praziquantel

กรอกปาก

15 mg/kg

 

พยาธิตัวตืด

Fenbendazole

กรอกปาก

5 mg/kg

 
 

Praziquantel

กรอกปาก

15 mg/kg

 
 

Niclosamide

กรอกปาก

50 – 100 mg/kg

 

 

การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
ตารางโปรแกรมการให้วัคซีนป้องกันโรคสัตว์ชนิดต่างๆ ที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์

โปรแกรมวัคซีนสำหรับแพะ แกะ
อายุ
วัคซีนที่ใช้
โรคปากและเท้าเปื่อย
แอนแทรกซ์
แบลคเลก
   
12 สัปดาห์
x
       
14 สัปดาห์  
x
     
15 สัปดาห์
x
       
20 สัปดาห์    
x
   
ทุกๆ 6 เดือน
x
 
x
   
ทุกๆ ปี  
x
     
วิธีให้
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
   
โปรแกรมวัคซีนสำหรับโค กระบือ
อายุ
วัคซีนที่ใช้
โรคปากและเท้าเปื่อย
เฮโมรายิกเซฟติกซีเมีย
แอนแทรกซ์
แบลคเลก
บรูเซลโลซีสสำหรับลูกโคเพศเมีย
12 สัปดาห์        
x
14 สัปดาห์    
x
   
16 สัปดาห์
x
x
     
20 สัปดาห์
x
   
x
 
ทุกๆ 6 เดือน
x
   
x
 
ทุกๆ ปี  
x
x
   
วิธีให้
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อลึก
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
หมายเหตุ
  • โปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและคำแนะนำของสัตวแพทย์โดยขึ้นอยู่กับสภาพการระบาดของโรค
  • นอกจากนี้ต้องทำการตรวจโรควัณโรค โดยการทดสอบทางผิวหนัง และโรคแท้งติดต่อ-พาราทีบี โดยทางซีรัมวิทยา เป็นประจำทุกปี
  • ดูรายละเอียดเกี่ยวกับวัคซีนที่ สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์