โครงสร้างองค์กร

1. กลุ่มพยาธิวิทยา (Pathology Section)
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย การเกิดพยาธิสภาพของโรคในปศุสัตว์ สัตว์น้ำและสัตว์ป่า และพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคด้านพยาธิวิทยาให้มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานสากล
- เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงทางด้านพยาธิวิทยา และดำเนินการวินิจฉัยชันสูตรโรคทางพยาธิวิทยา
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาการผลิตชีวสารที่มีความจำเพาะต่อวิธีการตรวจทางพยาธิวิทยา
- ศึกษา วิจัยด้านชีวโมเลกุล ทางพยาธิวิทยา
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
2. กลุ่มไวรัสวิทยา (Virology Section)
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับเชื้อไวรัส และพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัย และชันสูตรโรคด้านไวรัสในปศุสัตว์ สัตว์น้ำและสัตว์ป่าเพื่อให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล
- เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ทางไวรัสวิทยา
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาการผลิตชีวสาร ชุดทดสอบ และวัคซีนต้นแบบ
- ศึกษา วิจัยด้านภูมิคุ้มกันวิทยาและชีวโมเลกุลของเชื้อไวรัส
- อนุรักษ์ ศึกษา และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและชีวโมเลกุลของสายพันธุ์ไวรัส
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ทางไวรัส
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
3. กลุ่มแบคทีเรียและเชื้อรา (Bacteriology and Mycology Section)
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับแบคทีเรียและเชื้อรา และพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคด้านแบคทีเรียและเชื้อราในปศุสัตว์ สัตว์น้ำและสัตว์ป่า เพื่อให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล
- เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิง ดำเนินการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคทางแบคทีเรียและเชื้อรา
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาการผลิตชีวสาร สารทดสอบ และวัคซีนต้นแบบ
- ศึกษา วิจัยทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยาและชีวโมเลกุลของแบคทีเรียและเชื้อรา
- ศึกษาความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพเพื่อการรักษาและเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา
- อนุรักษ์ ศึกษา และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและทางชีวโมเลกุลของสายพันธุ์แบคทีเรียและเชื้อรา
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ทางแบคทีเรียและเชื้อรา
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
4. กลุ่มปรสิตวิทยา (Parasitology Section)
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับปรสิตภายในและภายนอก และพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคด้านปรสิตในปศุสัตว์ สัตว์น้ำและสัตว์ป่า เพื่อให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล
- เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงทางด้านปรสิตวิทยา
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาผลิตชีวสารที่มีความจำเพาะต่อวิธีการตรวจทางปรสิตวิทยา
- ศึกษา วิจัยโรคสัตว์ที่เกิดจากปรสิตด้านชีวโมเลกุลและภูมิคุ้มกัน
- อนุรักษ์ ศึกษา และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและชีวโมเลกุลของสายพันธุ์ปรสิตในสัตว์
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการชันสูตรโรคสัตว์ทางปรสิต
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
5. กลุ่มภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology Section)
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย วินิจฉัยและชันสูตรโรคแอบแฝงที่สำคัญ (Essential latent diseases) เฉพาะโรค Brucellosis, Tuberculosis และ leptospirosis อย่างครบวงจร
- ผลิตชีวสารและชุดทดสอบสำหรับใช้ในการทดสอบและป้องกันโรคให้ได้ตามมาตรฐานสากล
- กำหนดมาตรฐานการชันสูตรและการดำเนินการในระบบประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการชันสูตร Essential latent diseases
- ดำเนินการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านการชันสูตร Essential latent diseases (เฉพาะโรค) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- อนุรักษ์ ศึกษา และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของสายพันธุ์ จุลินทรีย์ของ Essential latent diseases (เฉพาะโรค)
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการชันสูตรและตรวจวินิจฉัย รวมถึงการควบคุมคุณภาพชีวสารที่ผลิตเพื่อการชันสูตรและป้องกันโรคที่เกี่ยวข้อง
- บูรณาการร่วมกับกลุ่มที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังและสำรวจโรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำ
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
6. กลุ่มพิษวิทยาและชีวเคมี (Toxicology and Biochemistry Section)
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับชีวเคมีและพิษวิทยา และพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ด้านชีวเคมีและพิษวิทยา เพื่อให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงจากการตกค้างของสารพิษในสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์และสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์และผู้บริโภค
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคระดับโมเลกุล
- การประเมินความเสี่ยงจากสารพิษและสารตกค้างที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์และผู้บริโภค
- เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านพิษวิทยาและชีวเคมี
- ให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการ ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ด้านพิษวิทยาและชีวเคมี ให้กับเกษตรกร นักวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
7. ศูนย์เลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis Center)
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรสิสและพิสูจน์สายพันธุ์เชื้อเลปโตสไปราในสัตว์ทุกชนิด
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาผลิตชีวสาร ชุดทดสอบและวัคซีนต้นแบบ
- ศึกษา วิจัยระบาดวิทยา หาความสัมพันธ์ของโรคระหว่างสัตว์และคน เพื่อการเฝ้าระวังและควบคุมโรคเลปโตสไปโรสิส
- เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงโรคเลปโตสไปโรสิส
- เป็นศูนย์กลางการเตรียมและสนับสนุนชีวสาร และเป็นแหล่งรวบรวมสายพันธุ์ของเชื้อเลปโตสไปรา
- อนุรักษ์ ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และทางชีวโมเลกุลของสายพันธุ์เชื้อเลปโตสไปรา
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวินิจฉัยและชันสูตรโรคเลปโตสไปโรสิส
8. กลุ่มระบาดวิทยาทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Epidemiology Section)
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางด้านโรคสัตว์ในปศุสัตว์ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ด้านระบาดวิทยาทางห้องปฏิบัติการ โดยการติดตาม และประสานกับกลุ่มต่างๆ เพื่อสอบสวนหาสาเหตุ ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้สัตว์เกิดโรค การแพร่โรค และความรุนแรงของโรคทั้งโรคสัตว์ตามพระราชบัญญัติ และ/หรือโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อของสัตว์อื่นๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่การปศุสัตว์ของประเทศ เพื่อหาวิธีควบคุม ป้องกัน กำจัด และบำบัดโรคสัตว์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- รวบรวมและประมวลผลจากการตรวจวินิจฉัยและการชันสูตรโรคสัตว์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการวางแผน และพัฒนาด้านสุขภาพสัตว์
- จัดระบบการจัดการตัวอย่างสำหรับงานวิจัย วิเคราะห์ และการวินิจฉัยชันสูตรโรคสัตว์ และรายงานผลต่อผู้รับบริการอย่างครบวงจร
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบาดวิทยาทางห้องปฏิบัติการแก่เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์และเกษตรกร
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
9. กลุ่มพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ (Laboratory Quality Development Section)
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการชันสูตรโรคสัตว์
- ดำเนินการให้มีการจัดทำระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการให้ได้รับรองตามมาตรฐานสากล
- ควบคุม กำกับและดูแลให้มีการทดสอบประสิทธิภาพห้องปฏิบัติการ เพื่อติดตามและรักษาระบบคุณภาพให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
- ควบคุม กำกับและดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพและชีวนิรภัยในห้องปฏิบัติการ
- ดำเนินการสอบเทียบเครื่องมือ และอุปกรณ์ให้มีความแม่นยำ ถูกต้อง และพร้อมใช้งาน
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคสัตว์และความปลอดภัยทางชีวภาพและชีวนิรภัยในห้องปฏิบัติการ
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
10. กลุ่มบริหารจัดการสุขภาพสัตว์ (Animal Health Management Section)
- ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลด้านการวินิจฉัย วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์
- ประสานการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัย วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์
- จัดการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ และผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านสุขภาพสัตว์ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ประสานงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ประสานงาน และปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
11. กลุ่มสัตว์ทดลอง (Experimental Animal Section)
- ศึกษา วิจัย ค้นคว้า และควบคุมคุณภาพของสัตว์ทดลองให้ตรงตามมาตรฐานสากล
- จัดหาสัตว์ทดลองที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อการวิจัย วินิจฉัย และชันสูตรโรคสัตว์
- ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ ป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่ใช้ในการศึกษา วิจัย วินิจฉัย และชันสูตรโรคสัตว์ ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการดูแลและการปฏิบัติกับสัตว์ทดลอง
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
12. กลุ่มส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ (Animal Health Research and Innovation Promotion Section)
- จัดทำแผนการวิจัย/วิชาการด้านสุขภาพสัตว์
- พัฒนานักวิจัย งานวิจัยของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
- ส่งเสริม สนับสนุนการทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพสัตว์และการนำไปใช้ประโยชน์
- สนับสนุนเครื่องมือกลางเพื่องานวิจัยแก่นักวิชาการ
- ส่งเสริม อนุรักษ์ รวบรวม ศึกษา และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของสายพันธุ์จุลินทรีย์และปรสิตในสัตว์
- ให้คำปรึกษา แนะนำเสนอแนะด้านการวิจัยและวิชาการแก่นักวิชาการและผู้บริหารสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
13. ฝ่ายบริหารทั่วไป (General Administration Section)
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและงานธุรการทั่วไป
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการเงิน การคลัง การบัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ อาคารสถานที่ การบริหารงานบุคคล การติดต่อประสานงาน และงานสถิติข้อมูล
- ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน งบประมาณ งานพัฒนาระบบราชการ ตัวชี้วัด และเร่งรัดติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของสถาบัน
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
14. ฝ่ายความปลอดภัยและความมั่นคงทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Biosafety & Security Section)
- บริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยและมั่นคงทางห้องปฏิบัติการของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติและเครือข่ายห้องปฏิบัติการชันสูตร-วิจัยโรคสัตว์
- ดูแลระบบไฟฟ้า ประปา สุขาภิบาล โทรศัพท์ ลิฟท์ เครื่องปรับอากาศ ห้องเย็น ห้องปลอดเชื้อ ห้อง BLS3 ตู้นิรภัย ฯลฯ
- ตรวจสอบ ซ่อมแซมครุภัณฑ์ อาคาร และสิ่งก่อสร้าง
15. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายห้องปฏิบัติการและงานระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ (Laboratory Network Cooperation and Veterinary Epidemiology center)
- จัดฝึกอบรมด้านระบาดวิทยาภาคสนามให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทั้งในและต่างประเทศ
- วิจัยและพัฒนาข้อมูลด้านระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ระหว่างประเทศ
16. ศูนย์อ้างอิงโรคปากและเท้าเปื่อยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : ศออ. (Regional Reference Laboratory for Foot and Mouth Disease in Southeast Asia : RRL)
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนางานด้านการชันสูตร และพิสูจน์เชื้อที่เกิดขึ้นกับสัตว์ทุกชนิดหรือที่เกี่ยวข้องกับโรคปากและเท้าเปื่อยทั้งในและต่างประเทศ
- ศึกษา วิจัยทางระบาดวิทยา ไวรัสชนิดย่อย แอนติเจน และแอนติบอดี และการกลายพันธุ์ระดับชีวโมเลกุล และการคัดเลือกสายพันธุ์ไวรัสสำหรับผลิตวัคซีน
- เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านการชันสูตร การเตรียมและสนับสนุนชีวสาร และเป็นแหล่งรวบรวมสายพันธุ์เชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยในระดับภูมิภาค
- ดำเนินการด้านระบบประกันคุณภาพและมาตรฐานการตรวจสอบ
- ดำเนินการด้านบริการตรวจวินิจฉัย และชันสูตรโรคปากและเท้าเปื่อย
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานเครือข่ายข้อมูลด้านโรคปากและเท้าเปื่อยกับองค์กรภายใน และต่างประเทศ
- เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับภูมิภาคและ ASEAN
- ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
17. ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ : ศทวช. (Veterinary Biologics Assay and Research Center : VBAC)
- ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ และเทคโนโลยีด้านทดสอบคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์
- ดำเนินการทดสอบคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ที่ผลิตภายในประเทศโดยสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ (สทช.) และที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อขอขึ้นทะเบียนตำรับยาโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นอกจากนั้นยังให้บริการทดสอบคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์แก่บริษัทเอกชน ผู้ประกอบการ และเกษตรกรตามที่ลูกค้าร้องขอ
- เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบวัคซีนสัตว์อาเซียน (ASEAN Animal Vaccine Testing Laboratory)
- จัดเก็บรวบรวมเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตและทดสอบคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์
- ดำเนินการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ และอาคารคอกสัตว์ทดลอง ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- เป็นศูนย์ให้บริการข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศด้านชีววัตถุสำหรับสัตว์
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการทดสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์
|หน้าแรก| แผนผังเว็บ| ข้อมูลองค์กร| การบริการ| องค์ความรู้| พัฒนาองค์กร| แผนงาน-วิจัย| บริหารจัดการ| พัสดุ-งบประมาณ| สถิติ-รายงาน| ติดต่อ| English| |