แผนปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2555
1. กิจกรรม/โครงการ
1.1 กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม บำบัด และชันสูตรโรคสัตว์
1.2 กิจกรรมป้องกัน แก้ไข และเตรียมความพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก
1.3 กิจกรรมวิจัย และพัฒนาการปศุสัตว์
1.4 กิจกรรมการเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการตรวจสอบเพื่อรวบรวมการเปิดการค้าเสรี (AFTA)
2. หลักการและเหตุผล
2.1 กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม บำบัด และชันสูตรโรคสัตว์
เนื่องจากโรคสัตว์เป็นอุปสรรคในการทำลายเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์อย่างมาก และผู้ประกอบการจะไม่ทราบว่าจะเกิดโรค
ระบาดในอุตสาหกรรมตนเองเมื่อไร การมีห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัย และชันสูตรโรคได้อย่างแม่นยำ
รวดเร็ว และถูกต้อง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องพัฒนาห้องปฏิบัติการให้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริการ
วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ที่ได้มาตรฐานสากล ให้ผลถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันต่ออุบัติการณ์ของโรค รวมทั้งการสอบสวนและ
เฝ้าระวังโรคสัตว์ทางห้องปฏิบัติการในการควบคุมป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ เพื่อให้ปศุสัตว์ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ และสัตว์อื่นๆ ที่มีความ
สำคัญทางเศรษฐกิจมีสุขภาพแข็งแรงและเพิ่มผลผลิต ป้องกัน และควบคุมปัญหาสุขอนามัยที่มีสาเหตุจากโรคระบาดสัตว์ตลอดจน
เพิ่มมูลค่าการส่งออกของสินค้าปศุสัตว์
2.2 กิจกรรมป้องกัน แก้ไข และเตรียมความพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก
โรคไข้หวัดนกเป็นโรคระบาดที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เนื่องจากมีการระบาดอย่างกว้างขวางในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก
รวมทั้งในประเทศไทยโดยก่อความเสียหายให้แก่อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีก และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั่วไปในรอบการระบาดที่
ผ่านมาประเทศไทยได้รับความเสียหายเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท และยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นโรคที่สามารถติดต่อไปยังคนได้ กรมปศุสัตว์
ได้กำหนดแผนงานการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก โดยยึดแนวทางบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ตามนโยบายของภาครัฐ
ซึ่งสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ ทั้ง 7 แห่ง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านวิชาการสุขภาพสัตว์ จำเป็นต้องพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกด้วยวิธีมาตรฐานสากลและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการควบคุม ป้องกัน และกำจัด
โรคให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยมุ่งเน้นตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกัน แก้ไข และเตรียมความพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก ด้วยการ
รณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-Ray) สำรวจและเฝ้าระวังโรคอย่างมีประสิทธิภาพสามารถป้องกันและแก้ไข
ปัญหาทั้งในประเทศและประเทศข้างเคียง
3. วัตถุประสงค์
กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม บำบัด และชันสูตรโรคสัตว์
1. แก้ไขปัญหาสุขภาพสัตว์ ผลผลิตปศุสัตว์ และสุขอนามัยของประชาชนโดยการศึกษา ค้นคว้า ชันสูตรโรคและสุขภาพสัตว์
2. เพื่อให้ห้องปฏิบัติการของสถาบันสุขภาพสัตว์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของประเทศ
และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยดำเนินการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคสัตว์ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC
17025
3. ผลิตชีวภัณฑ์ เพื่อใช้ในการทดสอบและป้องกันโรคสัตว์ เป็นการประหยัดงบประมาณในการนำเข้าจากต่างประเทศ
4. เป็นศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยาทางห้องปฏิบัติการด้านสุขภาพสัตว์ของประเทศ
5. ให้คำปรึกษา แนะนำและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านโรคที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพสัตว์ ผลผลิตปศุสัตว์ และสุขอนามัยของ
ประชาชน
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย เช่น ความปลอดภัยด้าน
อาหาร (Food safety) การเฝ้าระวังการดื้อยาในสัตว์ การเฝ้าระวังและตรวจวินิจฉัยโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน (zoonosis) เช่น โรค
ไข้หวัดนก โรคพิษสุนัขบ้า โรคเลปโตสไปโรซิส โรคซัลโมเนลลาฯ เฝ้าระวังโรคต่างถิ่น เช่น โรควัวบ้า (BSE) โรคนิปาห์ (Nipah) รวม
ทั้งโรคสัตว์อื่นๆ มีผลกระทบต่อ ผลผลิตปศุสัตว์ และสุขอนามัยของประชาชน
7. ประสานงานกับห้องปฏิบัติการต่างประเทศในการตรวจวินิจฉัย ชันสูตร ศึกษา และวิจัยด้านสุขภาพสัตว์ในภูมิภาค
กิจกรรมป้องกัน แก้ไข และเตรียมความพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก
1. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในระบบการตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนก เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และผลกระทบทาง
สังคมและสาธารณสุข
2. เพื่อค้นหา และเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกตลอดจนร่วมดำเนินการจัดทำระบบคอมพาร์ท เมนต์ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีก
เพื่อสนับสนุนการส่งออก
3. เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกทางห้องปฏิบัติการ
4. ให้คำแนะนำทางวิชาการแก่ผู้เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ของประเทศข้างเคียง
ผลผลิตและผลลัพธ์ระดับโครงการ
ผลผลิตการพัฒนาสุขภาพสัตว์
กิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม
1. การให้บริการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม บำบัด และชันสูตรโรคสัตว์
2. การให้บริการเพื่อป้องกัน แก้ไข และเตรียมความพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก
ผลลัพธ์
กิจกรรมที่ 1 เกษตรกร ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ประชาชน ได้รับบริการการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบ
คุม บำบัดและชันสูตรโรคสัตว์ที่เป็นมาตรฐานสากล ภายในระยะเวลาที่กำหนดและมีความพึงพอใจ
กิจกรรมที่ 2 เกษตรกร ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ประชาชน ได้รับบริการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัด
นกแบบบูรณาการ เพื่อรู้แหล่งโรคอย่างรวดเร็ว ก่อนการแพร่กระจายของโรค
วิธีดำเนินการ
กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม บำบัด และชันสูตรโรคสัตว์
1. การชันสูตรโรคสัตว์
- การส่งตัวอย่าง/ซากสัตว์/สัตว์ป่วย เพื่อส่งห้องปฏิบัติการ โดยมีผู้นำส่ง ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ (กรมปศุสัตว์ หรือหน่วยงานราชการอื่นๆ)
- เกษตรกร เจ้าของฟาร์ม เอกชน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และประชาชนทั่วไป
- เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานต่างประเทศ
- การรับตัวอย่าง/ซากสัตว์/สัตว์ป่วย
- เจ้าหน้าที่กลุ่มระบาดวิทยาทางห้องปฏิบัติการ (มีคู่มือการสอบสวนโรคเพื่อการชันสูตรโรคสัตว์) รับตัวอย่าง / ซากสัตว์ /สัตว์ป่วย ตรวจสอบคุณภาพตัวอย่างและซักประวัติ รวมทั้งจัดส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง
- ในกรณีที่จำเป็นต้องทำการผ่าซาก เจ้าหน้าที่กลุ่มระบาดวิทยาทางห้องปฏิบัติการ แจ้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินการผ่าซาก ตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น และเก็บตัวอย่างส่งไปยังห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง
- เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา ไวรัสวิทยา แบคทีเรียและเชื้อรา ปาราสิตวิทยา อิมมูนและซีรัมวิทยา ชีวเคมีและพิษวิทยา ทำการทดสอบ ตรวจวินิจฉัย และชันสูตรโรคสัตว์ตามวิธีเฉพาะ แล้วส่งผลการชันสูตรให้กลุ่มระบาดวิทยาทางห้องปฏิบัติการ
- เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ และเจ้าหน้าที่กลุ่มระบาดวิทยาทางห้องปฏิบัติการ รวบรวมผลชันสูตรทั้งหมด เพื่อสรุปผลการตรวจวินิจฉัยโรคพร้อมให้คำแนะนำ และจัดส่งไปยังผู้ส่งตัวอย่าง รวมทั้งจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อระบาดวิทยาทางห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้ในหน่วยงานรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-ในกรณีที่เป็นปัญหาเร่งด่วน หรือมีผลกระทบกับเกษตรกรอย่างกว้างขวาง จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานสอบสวนโรคในพื้นที่ เพื่อให้ได้ข้อมูลมาประกอบการสรุปผล และการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
2. การถ่ายทอดเทคโนโลยี
- จัดหลักสูตรสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับลูกค้า
- กลุ่มงานของ สสช. วางแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการวินิจฉัยโรค หรือด้านสุขภาพสัตว์ / เขียนโครงการ
- เมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณ หรือเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน จะจัดสรรงบประมาณมาทำการถ่ายทอดให้ผู้เกี่ยวข้อง
- เมื่อมีผู้ไปฝึกอบรม / ดูงานจากต่างประเทศ จะจัดให้มีการถ่ายทอดให้ผู้ร่วมงาน
- ในกรณีที่ได้รับงบประมาณจากหน่วยงานอื่น หรือองค์กรต่างประเทศ เพื่อจัดประชุมนานาชาติ สสช. จะดำเนินการขออนุมัติกรมปศุสัตว์/ แต่งตั้งคณะกรรมการ จัดการฝึกอบรมตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรต่อไป
- กลุ่มงานของ สสช. มีการนิเทศงาน และถ่ายทอดวิธีการวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ให้เจ้าหน้าที่ ศวพ. ประจำภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ของกรมปศุสัตว์ตามความต้องการของเจ้าหน้าที่
- พิจารณาการส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรม / ดูงานจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมป้องกัน แก้ไข และเตรียมความพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก
1. วิธีตรวจเชื้อ
- รับตัวอย่าง /เตรียมตัวอย่าง
- ฉีดไข่ไก่ฟัก ตัวอ่อนมีชีวิตอายุ 9-11 วัน และส่องตรวจทุกวันนาน 4 วัน
- ดูดของเหลวที่หุ้มตัวอ่อน นำมาตรวจเชื้อที่ทำให้เม็ดเลือดแดงตกตะกอน (HA)
- ตรวจชนิด H5 ของเชื้อไข้หวัดนก โดย HI test กับซีรัม H5 ที่เตรียมไว้
2. ตรวจทางชีวโมเลกุลด้วยวิธี Real time PCR
3. การวิเคราะห์ผลจากห้องปฏิบัติการ
4. ให้คำแนะนำในการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรค
แผนดำเนินงาน ในปี 2555
กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม บำบัด และชันสูตรโรคสัตว์
- ดำเนินการชันสูตรโรคสัตว์ในห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา
ไวรัสวิทยา แบคทีเรียวิทยาและเชื้อรา ปาราสิตวิทยา อิมมูน-ซีรัมวิทยา พิษวิทยา-ชีวเคมี ฯลฯ ในโค กระบือ แพะ แกะ ม้า สุกร
สัตว์ปีก สัตว์ป่า สัตว์น้ำ และอื่นๆ ในปีงบประมาณ 2555 มีเป้าหมายดำเนินการ 350,000 ตัวอย่าง
กิจกรรมป้องกัน แก้ไขและเตรียมความพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก
- ดำเนินการชันสูตรโรคไข้หวัดนก และเฝ้าระวังโรคไข้
หวัดนกทางห้องปฏิบัติการ โดยห้องปฏิบัติการส่วนกลางของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ และส่วนภูมิภาคของศูนย์วิจัยและพัฒนาการ
สัตวแพทย์ทั้ง 7 ศูนย์ เพื่อการควบคุม และกำจัดโรคให้ครอบคลุมทั่วประเทศและประเทศใกล้เคียง การชันสูตรโรคไข้หวัดนกใช้วิธีการ
แยกพิสูจน์เชื้อไวรัสไข้หวัดนก ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) โดยตัวอย่างที่ชันสูตรเป็นสัตว์ปีก
ทุกชนิด ในปีงบประมาณ 2555 มีเป้าหมายดำเนินการ 119,130 ตัวอย่าง
> > > > เอกสารฉบับเต็ม