โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังจากโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์
บรรยายในการประชุมสัมมนา "โรคติดต่อในศตวรรษที่ 21" ณ โรงแรมกาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2548
การส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญของกรมปศุสัตว์ เนื่องจากประเทศไทยมีลักษณะโครงสร้างสังคมเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร การส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ของกรมปศุสัตว์ มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ
- สร้างและส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร และลดปัญหาการว่างงานแอบแฝง
- แก้ไขปัญหาความยากจน ช่วยเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายการครองชีพของเกษตรกร
- ลดพื้นที่เกษตรกรรมที่ให้ผลผลิตต่ำ เป็นการเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทำกิน
- เพิ่มอัตราการผลิตเนื้อสัตว์ให้เพียงพอแก่ความต้องการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้ลดการนำเข้าสัตว์และผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ
- ได้ผลพลอยได้ทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยคอก จะช่วยทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี
- ช่วยอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และปรับปรุงสายพันธุ์
รูปแบบและเป้าหมาย ของการส่งเสริมการเลี้ยง
- การส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง/สัตว์ปีก
- การส่งเสริมการเลี้ยงแพะ
- การส่งเสริมการเลี้ยงสุกร
- การส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ
- การส่งเสริมการเลี้ยงโคนม
- การส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ ปัจจุบันกรมปศุสัตว์ เตรียมดำเนินโครงการส่งเสริม
- การเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัว ในช่วงระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2548-2541) เป้าหมายให้เกษตรกรมีโคเนื้อ
จำนวนทั้งสิ้น 5,000,000 ตัว
1. พันธุ์สัตว์ โดยการคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์คุณภาพดี เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและพื้นที่ที่นำมาส่งเสริมการเลี้ยง โดยพิจารณาคัดเลือกพันธุ์สัตว์ภายในประเทศก่อน หากปริมาณที่มีไม่เพียงพอ จะพิจารณาจัดซื้อ/นำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งน้ำเชื้อพ่อพันธุ์
2. การถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้วยการฝึกอบรมเกษตรกรเพิ่มพูนความรู้ทั้งด้านการเลี้ยงสัตว์และการดูแล สุขภาพสัตว์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามศักยภาพสายพันธุ์สัตว์นั้นๆ
3. สนับสนุนหญ้า/อาหารสัตว์ ส่งเสริมการปลูกหญ้าอาหารสัตว์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและพื้นที่การเลี้ยงสัตว์
4. การดูแลสุขภาพสัตว์ ด้านการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคสัตว์ ด้วยการส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค การกำจัดพยาธิทั้งภายนอก-ภายใน การหน่วยรักษาพยาบาล คลีนิคเกษตร โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จัดหวัดในพื้นที่ที่จะเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์ม เกษตรกรสม่ำเสมอ
5. จัดตั้งตลาดค้าโค-กระบือ ให้เกษตรกรมีตลาดเพื่อการค้าสัตว์ให้ได้ราคายุติธรรม และปลอดจากโรคติดต่อและโรคระบาดสัตว์
ปัญหาที่อาจพบจากโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์
1. เกษตรกรไม่มีศักยภาพในการผลิต ทั้งด้านความรู้ เทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ ไม่มีพื้นที่ปลูกหญ้าอาหารสัตว์ ทำให้ผลผลิตที่จะได้จากการเลี้ยงสัตว์นั้นไม่เต็มศักยภาพสัตว์นั้นจะผลิตได้ เช่น อัตราการเจริญเติบโตต่ำ จำนวนลูกต่อครอกต่ำ ปัญหาการผสมไม่ติด ปัญหาการแท้ง เป็นต้น ดังนั้นต้องมีการคัดเลือกและกำหนดคุณสมบัติเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการฯ เช่น เป็นเกษตรกรทีมีการเลี้ยงสัตว์มาก่อน มี
ที่ดินที่จะปลูกหญ้าอาหารสัตว์ได้ และต้องได้รับการฝึกอบรมการเลี้ยงสัตว์ก่อน เป็นต้น
2. ปัญหาโรคติดต่อและโรคระบาด ในการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ สัตว์ที่นำมาให้เกษตรกรเลี้ยงตามโครงการฯนั้น มักเป็นสัตว์จากแหล่งเลี้ยงอื่น ทั้งภายในประเทศ หรือจากต่างประเทศ และสัตว์เหล่านั้นอาจถูกนำมาจากหลายๆแหล่งรวมกัน ซึ่งอาจมีสัตว์ป่วยหรือสัตว์อมโรคปะปนมาซึ่งจะเป็นสาเหตุ
ทำให้เกิดโรคระบาดในพื้นที่ได้ ทั้งโรคติดต่อในสัตว์ทั่วไป โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน และโรคอุบัติใหม่ที่ไม่พบการระบาดในพื้นที่หรือในประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องมีการป้องกันควบคุมโรค กำจัดพยาธิภายในและภายนอกก่อนส่งมอบสัตว์ให้เกษตรกร
3. ความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ทั้งด้านเทคนิคและกำลังเจ้าหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่อาจยังขาดประสบการณ์หรือมีความเชี่ยวชาญไม่เพียงพอ เช่น การควบคุมป้องกันโรค หรือการผสมเทียม หากเจ้าหน้าที่ไม่มีความเชี่ยวชาญจะทำให้สัตว์นั้นผสมไม่ติด หรือเกิดการอักเสบติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น ดังนั้นเจ้าหน้าที่ต้องได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ ให้สามารถปฏิบัติงานได้ นอกจากนี้อัตรากำลังเจ้าหน้าที่มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนเกษตรกร การเข้าเยี่ยมเพื่อดูแลการเลี้ยงและสุขภาพสัตว์ไม่ทั่วถึง จึงต้องสร้างเครือข่ายอาสาสมัครปศุสัตว์ในการเป็นที่ปรึกษาของเกษตรกร การเฝ้าระวัง
โรคและดูแลสุขภาพสัตว์เบื้องต้นได้
4. การตลาด เมื่อมีการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีตลาดที่สามารถรองรับ ผลิตภัณฑ์นั้นได้ เพื่อป้องกันปัญหาสินค้าล้นตลาด หรือผลผลิตที่ได้ ไม่ได้ราคา ไม่คุ้มทุนต่อการเลี้ยง
สถานการณ์โรคติดต่อและโรคระบาดสัตว์ที่สำคัญ ในประเทศไทย
จากรายงานการเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ 7 แห่ง และ
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ มีรายงานการเกิดโรคสัตว์ที่สำคัญๆ ดังนี้
โรค |
ชนิดสัตว์ |
พ.ศ.2545 |
พ.ศ.2546 |
พ.ศ.2547 |
พบโรค (ครั้ง) |
พบโรค (ครั้ง) |
พบโรค (ครั้ง) |
||
Brucellosis |
กระบือ |
8 |
5 |
4 |
โคนม |
21 |
11 |
14 |
|
โคเนื้อ |
55 |
68 |
71 |
|
แพะ |
1 |
19 |
34 |
|
แกะ |
0 |
2 |
0 |
|
สุกร |
3 |
3 |
8 |
|
Meliodosis |
โคนม |
0 |
1 |
0 |
โคเนื้อ |
1 |
0 |
3 |
|
แพะ |
1 |
2 |
5 |
|
สุกร |
2 |
0 |
2 |
|
กวาง |
0 |
1 |
1 |
|
นก |
0 |
0 |
1 |
|
Tuberculosis |
ไก่ไข่ |
0 |
2 |
0 |
เป็ดไข่ |
0 |
0 |
2 |
|
นกอีมู |
0 |
0 |
1 |
|
ช้าง |
1 |
0 |
3 |
|
Leptospirosis |
กระบือ |
0 |
0 |
1 |
โคเนื้อ |
0 |
0 |
1 |
|
สุนัข |
0 |
0 |
4 |
|
Rabies |
สุนัข |
669/2396(27.9%) |
497/1892(26.3%) |
306/1494(20.48%) |
แมว |
39/467(8.4%) |
23/425(5.4%) |
16/242(6.61%) |
|
โค |
30/60(50%) |
20/55(36.4%) |
1/2 (50%) |
|
กระบือ |
0 |
1/3(33.3%) |
1/2 (50%) |
|
สุกร |
1/6(16.7%) |
0 |
1/2 (50%) |
|
Anthrax |
ไม่มีรายงานการเกิดโรคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 |
|||
FMD |
โค/กระบือ/สุกร |
54 |
104 |
51 |
Haemorrhagic septicemia |
โค/กระบือ |
8 |
5 |
4 |
ข้อมูลการเฝ้าระวังทางห้องปฎิบัติการช่วยบ่งบอกสถานการณ์โรค และปัญหาโรคติดต่อในสัตว์ได้ซึ่งจากรายงานดังกล่าวจะพบว่าประเทศไทยยังมี ปัญหาโรคระบาดสัตว์และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่สำคัญ น่าจับตามอบและเฝ้าระวังโรคทั้งในสัตว์โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ และสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรทั้งไป ดังนี้
1. Avian Influenza โรคไข้หวัดนก จากการระบาดโรคไข้หวัดนกในช่วงปี พ.ศ. 2547 พบ
จุดการระบาดของโรค 787 ตำบล 266 อำเภอ ใน 51 จังหวัด และต้องทำลายสัตว์ปีกกว่า 3 ล้านตัว ซึ่งก่อให้
เกิดความเสียหายและความสูญเสียโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ การส่งออก การสาธารณสุข และ ส่งผลกระทบต่อเนื่องในด้านอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยว เป็นต้น กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินมาตรการควบคุมโรคอย่าง
เข้มงวด เพื่อควบคุมพื้นที่การระบาดของโรค ปรับปรุงระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกให้อยู่ในระบบมาตรฐานฟาร์ม
เข้มงวดการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และการ X-ray พื้นที่ที่เลี้ยงสัตว์ปีกปีละ 2
ครั้ง เป็นการเฝ้าระวังโรคทางคลีนิคในเชิงรุก เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสัตว์ที่เป็นโรคหลงเหลืออยู่ และให้ประเทศ
ไทยไม่เกิดการระบาดและปลอดจากโรคไข้หวัดนกในที่สุด
2. Rabies โรคพิษสุนัขบ้า โรคพิษสุนัขบ้ายังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งดำเนินการ
แก้ไข จากรายงานสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าพบว่ายังคงเป็นสัตว์พาหะนำโรคที่สำคัญ ดังนั้นกรมปศุสัตว์
ยังต้องดำเนินกิจกรรมโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญต้องทำให้
ประชาชนและชุมชนเข้าใจปัญหาและมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการควบคุมโรค ทั้งการฉีดวัคซีนสัตว์เลี้ยง และ
การควบคุมจำนวนสัตว์เลี้ยงให้เหมาะสมที่จะดูแลได้ ไม่ปล่อยสุนัขของตนให้เป็นสุนัขจรจัด เป็นภาระสังคม
และสัตว์นำโรคไปสู่คนและสัตว์อื่นได้
3. Brucellosis โรคบลูเซลโลซิส เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่พบว่าก่อให้เกิดปัญหา
ด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้น สาเหตุของการเกิดโรคสำคัญ คือ ปัญหาการลักลอบเคลื่อนย้ายจากประเทศเพื่อนบ้านจากข้อมูลการทดสอบโรคสัตว์นำ เข้าในสถานกักกันสัตว์และด่านกักกันสัตว์ของกรมปศุสัตว์ ตรวจพบสัตว์เป็นโรค Brucellosis 1.24% ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะต้องถูกทำลายหมด นอกจากนี้ยังมีสัตว์ลักลอบอีกจำนวน หนึ่งที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งอาจเป็นปัญหาของการระบาดของโรคในขณะนี้ และกรมปศุสัตว์ได้เพิ่ม ความเข้มงวดและยับยั้งแพะนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านแล้ว สำหรับปศุสัตว์ภายในประเทศ กรมปศุสัตว์ได้
ดำเนินการทดสอบโรคประจำปี เพื่อสร้างและรับรองฟาร์มปลอดโรคบลูเซลโลซิส ทูเบอร์คูโลซิส และพาราทูเบอร์คูโลซิส ปัจจุบันมีฟาร์มที่ได้รับรองปลอดโรคบลูเซลโลซิสแล้ว 251 ฟาร์ม
4. Foot and Mount Disease โรคปากและเท้าเปื่อย แม้เป็นโรคที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา
ด้านสาธารณสุขแต่ก็เป็นโรคที่สำคัญมากสำหรับปศุสัตว์ไทย เนื่องจากความสำคัญในด้านเศรษฐกิจ ในด้าน
สุขภาพสัตว์และผลผลิตจากปศุสัตว์ที่ลดลงแล้ว ยังเป็นเงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศที่ทำให้สูญเสียโอกาส
ในการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ ดังนั้นกรมปศุสัตว์ต้องเร่งดำเนินแก้ไขและควบคุมโรค เช่น การรณรงค์ฉีดวัคซีน
ป้องกันโรคปากเท้าเปื่อยทั่วประเทศพร้อมกัน การเข้มงวดการเคลื่อนย้ายสัตว์ และการสร้างพื้นที่ปลอดโรค
ปากเท้าเปื่อย เป็นต้น
5. Tuberculosis โรควัณโรค เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่สำคัญที่ต้องเฝ้าระวังโรค
อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคเพิ่มขึ้น กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคด้วยการ
ทดสอบโรคในปศุสัตว์ทุกๆปี และดำเนินโครงการรับรองฟาร์มปลอดโรคบลูเซลโลซิส ทูเบอร์คูโลซิส และพารา
ทูเบอร์คูโลซิส จากผลการทดสอบโรคพบว่าโคเนื้อมีความชุกของโรค 0.16% โคนม 0.34% และมีฟาร์มที่ได้
รับการรับรองว่าปลอดโรคแล้วกว่า 231 ฟาร์ม
ในการดำเนินการควบคุมโรคติดต่อและโรคระบาดสัตว์ กรมปศุสัตว์มีมาตรการเพื่อการควบคุมโรค ได้แก่
1. การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมและป้องกันโรคสัตว์มิให้เกิดการระบาดหรือแพร่เชื้อจากการเคลื่อน ย้ายได้ อีกทั้งป้องกันโรคติดต่อและโรคระบาด
ที่ไม่เคยพบการระบาดในประเทศ โดยสัตว์ที่จะเคลื่อนย้ายจะต้องดำเนินการขออนุญาตเคลื่อนย้าย ณ สำนักงานปสุสัตว์ในพื้นที่
2. การศึกษาทางระบาดวิทยา ด้วยการจัดทำฐานข้อมูลทางระบาดวิทยาในสัตว์ ร่วมมือและประสานงานกับองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) และประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในการจัดระบบข้อมูลทางสุขภาพสัตว์ เพื่อประเมินและวางแผนการควบคุมโรคต่อไป
3. การเสริมสร้างภูมิคุ้นกันโรค กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้นกันโรคสัตว์ ลดปัญหาการระบาดของโรค ลดอัตราการป่วยและการตายของสัตว์จากโรค โดยเฉพาะโรคที่สำคัญๆ ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้า โรคอหิวาต์สุกร โรคปากและเท้าเปื่อย โรคนิวคาสเซิล โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น
4. การดูแลด้านสุขภาพสัตว์ ด้วยการวางแผนการรักษาพยาบาลและพัฒนาสุขภาพสัตว์ สนับสนุนเวชภัณฑ์วัสดุการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาลสัตว์ รวมทั้งการฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ การดูแลสุขภาพสัตว์ และการป้องกันโรคสัตว์ ให้มีคุณภาพและปลอดโรค
5. การประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการระบาดของโรค เพื่อให้เกิดความร่วมมือ
และเครือข่ายในการป้องกันโรค ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถป้องกันตนและสัตว์เลี้ยงจากโรค รวมทั้งให้เกิดจิตสำนึกในการสร้างความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการควบคุมโรค
|หน้าแรก| แผนผังเว็บ| ข้อมูลองค์กร| การบริการ| องค์ความรู้| พัฒนาองค์กร| แผนงาน-วิจัย| บริหารจัดการ| พัสดุ-งบประมาณ| สถิติ-รายงาน| ติดต่อ| English| |