การตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคปาก-เท้าเปื่อย
ศูนย์อ้างอิงโรคปากและเท้าเปื่อย ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ | |
เลขที่ 1210 หมู่ที่ 11 ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0 4427 9112 โทรสาร 0 4431 4889 อีเมล์ This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it | |
การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคปากและเท้าเปื่อย | |
วิธีเก็บตัวอย่างเชื้อ | |
1. 2. 3. 4. 5. 6. | บริเวณที่สามารถเก็บเชื้อได้คือ แผลที่ลิ้น, เยื่อบุภายในช่องปาก, แผลที่กีบ และไรกีบ ในโค กระบือ ให้เก็บจากแผลที่เยื่อลิ้น และบริเวณปาก โดยใช้ผ้าและภาชนะที่สะอาด ในสุกร หรือโค กระบือ แพะ แกะ ที่เดินเขยกแสดงว่าเชื้อแพร่กระจายไปถึงเท้าแล้วและไม่ สามารถเก็บเยื่อลิ้นได้ ควรเก็บเชื้อจากบริเวณไรกีบ ซอกกีบ หรืออุ้งกีบแทน โดยทำความสะอาดบริเวณนั้นด้วยน้ำสะอาดก่อน ขนาดของเนื้อเยื่อควรเก็บเชื้อไม่น้อยกว่า 1 กรัม ถ้าเห็นว่าเนื้อเยื่อจากสัตว์ตัวหนึ่งๆได้น้อยก็ ควรเก็บจากตัวอื่นเพิ่มด้วย และแยกขวดเป็นตัวๆไป เก็บเนื้อเยื่อบรรจุลงในขวดที่มีน้ำยา 50% กลีเซอรีนบัพเฟอร์ เขย่าให้น้ำท่วมเนื้อเยื่อ ปิดจุกให้ แน่น ปิดทับด้วยเทปกันน้ำยารั่วไหล ทำเครื่องหมายขวดให้ชัดเจน ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดภายนอกขวดก่อนนำส่งห้องปฏิบัติการ การนำส่ง ขวดบรรจุเนื้อเยื่อหรือน้ำเหลืองที่ได้ฆ่าเชื้อภายนอกแล้วให้ใส่ลงในภาชนะอีก 1 ชั้น เพื่อกันขวดแตกจากนั้นห่อทับด้วยกระดาษหลายๆชั้น หรือห่อด้วยวัสดุอื่นกันขวดแตก แล้วบรรจุกล่องหรือภาชนะที่ไม่แตกง่าย พร้อมกับบันทึกประวัติสัตว์ผู้ป่วย รีบนำส่งทันที หรือในกรณีจำเป็นต้องเก็บไว้ก่อน ควรเก็บในตู้เย็น หรือกระติกน้ำแข็ง วิธีนำส่งที่ดีที่สุด คือ นำส่งในสภาพแช่เย็น โดยปริมาณน้ำแข็งที่เพียงพอจนถึงห้องปฏิบัติการ ในกรณีไม่สามารถนำส่งในสภาพแช่เย็น ก็อาจส่งทางไปรษณีย์โดยทาง EMS |
หมายเหตุ | |
1. 2. 3. 4. 5. 6. | หากพบตุ่มใสที่ลิ้น, อุ้งเท้า, ไรกีบ ของโคและสุกร ซึ่งมักพบในสัตว์ที่เพิ่งเป็นโรคใหม่ๆ หาก สามารถเก็บน้ำจากตุ่มใส ส่งไปได้ก็จะเป็นการดียิ่งควรเก็บก่อนที่ตุ่มใสจะแตก โดยใช้เข็มดูดและเก็บในขวดที่สะอาด เก็บในสภาพแช่เย็นและรีบนำส่งห้องปฏิบัติการ การเก็บเชื้อควรเก็บจากแผลหรือเนื้อเยื่อจากสัตว์ที่เริ่มแสดงอาการป่วยเป็นโรค เพราะจะมี ปริมาณไวรัสมากเพียงพอสำหรับการตรวจ ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดเนื้อเยื่อที่จะส่งไปตรวจ เพราะจะทำให้ผลการวินิจฉัยผิดพลาดได้ ภายหลังการเก็บเชื้อใส่ขวดเรียบร้อยแล้วควรทำความสะอาดภายนอกขวดและอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนมือผู้เก็บเนื้อเยื่อ เพื่อป้องกันไม่ให้นำเชื้อไประบาดที่อื่น ไม่แนะนำให้ส่งตัวอย่างที่เป็นซีรั่ม เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการจำแนกชนิดไวรัสเพราะวิธีนี้จะมีข้อผิดพลาดได้ เนื่องจากการตรวจซีรั่มไม่สามารถบ่งบอกชนิดไวรัสได้ว่าสัตว์กำลังป่วยด้วยไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยไทป์ โอ หรือ เอ หรือ เอเชียวันได้ ดังนั้นวิธีที่แม่นยำและถูกต้องที่สุดคือการตรวจวินิจฉัยจากตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ลิ้นหรือกีบของสัตว์ป่วยเท่านั้น กรณีการส่งซีรั่ม เป็นการตรวจหาระดับแอนติบอดี้ต่อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยที่มีในสัตว์ที่เคยป่วยหรือสัตว์ที่เคยได้รับการฉีดวัคซีน วิธีนี้จะเป็นการตรวจวัดประสิทธิภาพของวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ เพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษาระบาดวิทยา การเฝ้าระวังโรค สำหรับการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อยเท่านั้น |
การเก็บตัวอย่างซีรั่มที่มีคุณภาพ ต้องปฏิบัติดังนี้ | |
| |
การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือวิการที่มีคุณภาพ | |
| |
ปัญหาที่พบบ่อย | |
|



|หน้าแรก| แผนผังเว็บ| ข้อมูลองค์กร| การบริการ| องค์ความรู้| พัฒนาองค์กร| แผนงาน-วิจัย| บริหารจัดการ| พัสดุ-งบประมาณ| สถิติ-รายงาน| ติดต่อ| English| |